Close
ค้นหา
Filters

เย็บมุงหลังคา

LINE ID : @ideolprint

Call for pricing

Saddle Stitching(เย็บมุงหลังคา)

การเข้าเล่มแบบเย็บอกหรือเย็บมุงหลังคา

      เป็นการเข้าเล่มอีกวิธีที่ง่ายมาก วิธีการเข้าเล่มแบบนี้จะใช้เย็บสมุดจดบันทึกของนักเรียนนักศึกษา สมุดโน้ตย่อทั่วไป แคตตาล็อกสินค้า หรือหนังสือทำมือ วิธีการเข้าเล่มแบบนี้คือสามารถกางได้ออกเต็มที่แต่ไม่เหมาะกับหนังสือที่มีจำนวนหน้าเยอะ วิธีการเข้าเล่มก็คือเอาแผ่นกระดาษทั้งหมดมาเรียงกันไม่เกิน 80 แผ่น (ไม่สามารถทำให้สันมีความหนาได้) แล้วพับครึ่งตามแนวตั้ง จากนั้นใช้ลวดเย็บกระดาษเย็บตรงแนวพับ 2-3 ตัว โดยการเข้าเล่มแบบเย็บมุงหลังคานี้มีข้อดีคือ รวดเร็ว ต้นทุนต่ำ และกางหนังสือออกได้มาก เหมาะสำหรับทำสมุดที่ต้องการเขียนได้ทั่วหน้ากระดาษ แต่ข้อเสียคือรูปลักษณ์ออกมาจะไม่ค่อยสวย กระดาษแผ่นกลางมีโอกาสยื่น เลยกระดาษแผ่นอื่นออกมา Staple ที่พับไม่ดีอาจเป็นอันตรายเวลาเขียนได้

การเข้าเล่มแบบเย็บกี่

      เป็นการเข้าเล่มแบบที่ทนที่สุด แพงที่สุด ยุ่งยากที่สุด และกางออกได้มากที่สุด วิธีการเข้าเล่มแบบเย็บกี่ค่อนข้างซับซ้อนพอสมควร วิธีการก็คือเอากระดาษทั้งหมดมาแยกออกเป็นส่วนย่อย จากนั้นเย็บแยกแต่ละส่วนเป็นเล่มเหมือนเย็บมุงหลังคา แต่เปลี่ยนจากลวดเป็นเส้นด้ายเย็บเข้าไปแทน จากนั้นเอาเล่มย่อย ๆ มาร้อยรวมกันเป็นเล่มใหญ่แล้วเย็บหุ้มด้วยปกแข็ง วิธีการเข้าเล่มแบบนี้เหมาะกับหนังสือที่มีจำนวนหน้ามาก เช่น พจนานุกรม สารานุกรม หรือนวนิยายที่มีจำนวนหน้ามากกว่า 500 หน้า เป็นต้น

การเข้าเล่มแบบเย็บแม็กติดเทปกาว

      การเย็บแม็กซ์ติดเทปกาวเป็นการเข้าเล่มที่แข็งแรงลงมาจากการเข้าเล่มแบบเย็บกี่ แต่วิธีการนั้นง่ายกว่า โดยมีวิธีการคือเย็บแม็กซ์ด้านขอบซ้ายมือของเล่ม (กรณีหันหน้าเข้าหาเล่ม) และเย็บแม็กซ์ให้ห่างจากขอบประมาณ 0.8 – 1 เซนติเมตร ซึ่งส่วนใหญ่จะเย็บประมาณ 3 ตัว คือ บน กลาง ล่าง แต่ทั้งนี้หากหนังสือหนามาก อาจจะเย็บเพิ่มได้ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง แต่ถ้าหนามาก (ประมาณเกิน 2.5 เซนติเมตร) แนะนำให้เย็บทั้งด้านหน้า และด้านหลัง เพื่อจะได้แข็งแรงยิ่งขึ้น โดยที่ขนาดของลูกแม็กซ์ หรือลวดติดกระดาษที่ใช้ให้เกินครึ่งของสันหนังสือ เพื่อความสวยงามของเล่ม และหลังจากที่เย็บแม็กซ์เสร็จแล้วก็ทำการติดเทปกาวทับรอบเย็บแม็กซ์ โดยส่วนใหญ่จะเป็นเทปผ้า ซึ่งจะต้องติดให้เทปปิดด้านหน้ากับด้านหลังเท่ากัน เพื่อความเรียบร้อยและสวยงามของหนังสือ

Saddle Stitching(เย็บมุงหลังคา)

การเข้าเล่มแบบเย็บอกหรือเย็บมุงหลังคา

      เป็นการเข้าเล่มอีกวิธีที่ง่ายมาก วิธีการเข้าเล่มแบบนี้จะใช้เย็บสมุดจดบันทึกของนักเรียนนักศึกษา สมุดโน้ตย่อทั่วไป แคตตาล็อกสินค้า หรือหนังสือทำมือ วิธีการเข้าเล่มแบบนี้คือสามารถกางได้ออกเต็มที่แต่ไม่เหมาะกับหนังสือที่มีจำนวนหน้าเยอะ วิธีการเข้าเล่มก็คือเอาแผ่นกระดาษทั้งหมดมาเรียงกันไม่เกิน 80 แผ่น (ไม่สามารถทำให้สันมีความหนาได้) แล้วพับครึ่งตามแนวตั้ง จากนั้นใช้ลวดเย็บกระดาษเย็บตรงแนวพับ 2-3 ตัว โดยการเข้าเล่มแบบเย็บมุงหลังคานี้มีข้อดีคือ รวดเร็ว ต้นทุนต่ำ และกางหนังสือออกได้มาก เหมาะสำหรับทำสมุดที่ต้องการเขียนได้ทั่วหน้ากระดาษ แต่ข้อเสียคือรูปลักษณ์ออกมาจะไม่ค่อยสวย กระดาษแผ่นกลางมีโอกาสยื่น เลยกระดาษแผ่นอื่นออกมา Staple ที่พับไม่ดีอาจเป็นอันตรายเวลาเขียนได้

การเข้าเล่มแบบเย็บกี่

      เป็นการเข้าเล่มแบบที่ทนที่สุด แพงที่สุด ยุ่งยากที่สุด และกางออกได้มากที่สุด วิธีการเข้าเล่มแบบเย็บกี่ค่อนข้างซับซ้อนพอสมควร วิธีการก็คือเอากระดาษทั้งหมดมาแยกออกเป็นส่วนย่อย จากนั้นเย็บแยกแต่ละส่วนเป็นเล่มเหมือนเย็บมุงหลังคา แต่เปลี่ยนจากลวดเป็นเส้นด้ายเย็บเข้าไปแทน จากนั้นเอาเล่มย่อย ๆ มาร้อยรวมกันเป็นเล่มใหญ่แล้วเย็บหุ้มด้วยปกแข็ง วิธีการเข้าเล่มแบบนี้เหมาะกับหนังสือที่มีจำนวนหน้ามาก เช่น พจนานุกรม สารานุกรม หรือนวนิยายที่มีจำนวนหน้ามากกว่า 500 หน้า เป็นต้น

การเข้าเล่มแบบเย็บแม็กติดเทปกาว

      การเย็บแม็กซ์ติดเทปกาวเป็นการเข้าเล่มที่แข็งแรงลงมาจากการเข้าเล่มแบบเย็บกี่ แต่วิธีการนั้นง่ายกว่า โดยมีวิธีการคือเย็บแม็กซ์ด้านขอบซ้ายมือของเล่ม (กรณีหันหน้าเข้าหาเล่ม) และเย็บแม็กซ์ให้ห่างจากขอบประมาณ 0.8 – 1 เซนติเมตร ซึ่งส่วนใหญ่จะเย็บประมาณ 3 ตัว คือ บน กลาง ล่าง แต่ทั้งนี้หากหนังสือหนามาก อาจจะเย็บเพิ่มได้ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง แต่ถ้าหนามาก (ประมาณเกิน 2.5 เซนติเมตร) แนะนำให้เย็บทั้งด้านหน้า และด้านหลัง เพื่อจะได้แข็งแรงยิ่งขึ้น โดยที่ขนาดของลูกแม็กซ์ หรือลวดติดกระดาษที่ใช้ให้เกินครึ่งของสันหนังสือ เพื่อความสวยงามของเล่ม และหลังจากที่เย็บแม็กซ์เสร็จแล้วก็ทำการติดเทปกาวทับรอบเย็บแม็กซ์ โดยส่วนใหญ่จะเป็นเทปผ้า ซึ่งจะต้องติดให้เทปปิดด้านหน้ากับด้านหลังเท่ากัน เพื่อความเรียบร้อยและสวยงามของหนังสือ