Close
ค้นหา
Filters

Paper (กระดาษ)

กระดาษ (Papers)

ความหมายของกระดาษ

"กระดาษ"เป็นวัสดุแผ่นบางๆ ทำจากเส้นใยพืช ใช้สำหรับเขียนหรือพิมพ์หนังวือ ปัจจุบันใช้ห่อของ เช็ดมือ ทำร่ม (วัลลภ สวัสดิวัลลภม, 2535) "กระดาษ"เป็นวัสดุบางๆ ทำจากเศษผ้าและใยพืช ใช้สำหรับเขียน พิมพ์หนังสือห่อของ (ลำปาง แม่นมาตย์, 2534) "กระดาษ"เป็นวัสดุที่ทำจากเยื่อไม้ผสมกับสารต่างๆ เพื่อให้เหมาะกับการนำไปทำเป็นกระพิมพ์และทะเบียน (สุโขทัยธรรมาธิราช, 2540) กล่าวโดยสรุป : "กระดาษ"เป็นวัสดุแผ่นบาง ทำจากพืชและสารต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับงานแต่ละชนิด

ชนิดกระดาษแบ่งตามลักษณะเยื่อกระดาษ

  • กระดาษปรู๊ฟ (Newsprint) เป็นกระดาษราคาถูก คุณภาพต่ำเก็บได้ไว้ได้ไม่นาน เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์
  • กระดาษปอนด์ (Bond) เป็นกระดาษจากเยื่อผ้าที่ใช้แล้ว ฟอกพิเศษ มีคุณภาพสูง ราคาสูง เหมาะสำหรับพิมพ์ใบประกาศ ธนบัตร หัวจดหมาย
  • กระดาษฟอกขาว หรือกระดาษปอร์นขาว (Wood Free Paper) เป็นกระดาษจากเยื่อกระดาษฟอกขาว ราคาและคุณภาพปานกลาง เหมาะสำหรับงานเขียน งานเอกสาร หรืองานพิมพ์ทั่วไป
  • กระดาษอาร์ต (Art Coated Paper) เป็นกระดาษที่มีการเคลือบผิววัสดุ ให้เรียบมัน เหมาะสำหรับการพิมพ์ภาพ
  • กระดาษเล็ดเยอร์ (Ledyer Paper) เป็นกระดาษจากเยื่อไม้และเยื่อเคมีผสมกัน มีคุณภาพสูง ทนเหนียว เหมาะสำหรับการเขียนหมึกพิมพ์ นิยมใช้ทำสมุดบัญชี หรืองานพิมพ์คุณภาพ
  • กระดาษโปรสเตอร์ (Poster Paper)เป็นกระดาษปอร์นมันวาวเรียบ หน้านึงหยาบ หน้านึงมัน เหมาสำหรับประกาศโฆษณา
  • กระดาษพาชเมนท์ (Parchment Paper) เป็นกระดาษทำเลียนแบบแผ่นหนังฟอก ทำจากเยื่อกระดาษ ใช้พิมพ์เอกสารสำคัญ
  • กระดาษแอร์เมล์ หรือกระดาษผิวหัวหอม(Onion Skin Paper) เป็นกระดาษทำด้วยเยื่อเคมีให้เป็นแผ่นบางๆ ใช้เขียนจดหมายส่งทางอากาศ พิมพ์ใบปะหน้า หรืองานพิมพ์ที่มีสำเนาหลายแผ่น
  • กระดาษแข็ง (Hard Paper)เป็นกระดาษเนื้อหยาบ มักมีสีน้ำตาลเทา เนื้อหยาบต้องใช้วัสดุอื่นๆหุ้ม ใช้ทำปกแข็งของหนังสือ เช่นปกหนังสือปริญานิพนธ์ เป็นต้น

ชนิดกระดาษเรียกตามคุณสมบัติ

  • กระดาษปรู๊ฟ (Neasprint)เป็นกระดาษเนื้อสีคล้ำ เหลือง และกรอบง่าย
  • กระดาษฟอกขาว หรือกระดาษปอนด์ขาว (Wood Tree Paper) เป็นกระดาษเนื้อสีขาว คุณภาพดีใช้สำหรับทำกระดาษเขียน หรือพิมพ์หนังสือทั่วไป
  • กระดาษแอร์เมล์ (Air mail) หรือการดาษเยื่อหอมเป็นกระดาษที่มีน้ำหนักเบา
  • กระดาษเหนียว หรือกระดาษน้ำตาลห่อของ (Kraft)
  • กระดาษซับ (Blotting Paper Absorbent Paper)เป็นกระดาษใช้ซับน้ำหรือของเหลว สามารถกรองตะกอนได้
  • กระดาษปก (Cover Paper) เป็นกระดาษสีขาวหนา เหนียว ใช้สำหรับทำปกอ่อน
  • กระดาษกล่อง (Bob Board)เป็นกระดาษ 2 ด้าน คือ ด้านหน้า เป็นกระดาษปอนด์สีขาว ด้านหลังเป็นสีคล้ำ
  • กระดาษโปสเตอร์ (Poster Paper)เป็นกระดาษ 2 ด้าน คือ ด้านหน้าเป็นแบบขัดมัน ด้านหลังเป็นกระดาษธรรมดา
  • กระดาษแข็งเป็นกระดาษไม่ฟอกขาว ใช้สำหรับทำเป็นปกแข็ง

ชนิดกระดาษแบ่งตามลักษณะ

  • กระดาษเคลือบผิว (Coated Paper)
    • หรือเรียกว่า กระดาษอาร์ต เป็นกระดาษที่มีผิวเรียบและขาว เนื่องจากเคลือบด้วยแคลเซียม คาร์บอกเนต ไททาเนี่ยม ไดออกไซต์ ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์รับหมึกได้ดี ทีทั้งกระดาษมันและด้าน มีความหนาตั้งแต่ 80 กรัมต่อตารางเมตร ถึง 350 กรัมต่อตารางเมตร และมีทั้งเคลือบผิวหน้าเดียว และสองหน้า บางชนิดมีลวดลาย
  • กระดาษไม่เคลือบผิว (Un Coated Paper)
    •    -   กระดาษการ์ด สำหรับพิมพ์ปก แผ่นโฆษณา โปสเตอร์ เอกสาร แผ่นพับ
         -   กระดาษปอนด์ สำหรับพิมพ์หนังสือทั่วไป หรือกระดาษจดหมาย มีน้ำหนัก 60-80 กรัมต่อตารางเมตร
         -   กระดาษปรู๊ฟ สำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์
         -   กระดาษแอร์เมล์ น้ำหนักแอร์ 28-32 กรัมต่อตารางเมตร
         -   กระดาษต่างประเทศ เช่น กระดาษอาร์ตชนิดนิวเอช ไม่เคลือบผิว มีลวดลาย ราคาแพง สวยและทน

ชนิดกระดาษประเภทอื่นๆ

  • กระดาษวาดเขียน (Drawing Paper)เป็นกระดาษปอนด์สีขาว รับสีได้ดี
  • กระดาษดูเปลกซ์ (Duplex Paper) เป็นกระดาษเหมือนกระดาษกล่อง แต่ตรงกลางทำจากกระดาษแข็งไม้ป่น หรือเศษกระดาษเก่าผิวหน้าขาว
  • กระดาษแข็งไอวอรี่ (Ivory Board) เป็นเยื่อกระดาษเคมีทำหนา กระดาษมีลักษณะขาวและเรียบ
  • กระดาษอัลบั้ม (Album Paper) สำหรับทำปกหนังสือ แต่ผสมพวกแกรไนท์ ให้มีสีขาวหรือเทา เพื่อใช้ทำอัลบั้ม

คุณสมบัติของกระดาษ

  • เกรน (Grain) การจัดเรียงตัวของเส้นใยในกระดาษ ความสำคัญของเกรน คือ
    •    -   กระดาษขยายตัวในแนวขวาง มากกว่าแนวตามเกรน 4-5 เท่า
         -   พับแนวตามเกรนจะเรียบกว่านับแนวขวางเกรน
         -   กระดาษแนวขวางเกรน แข็งแรงกว่า แนวตามเกรน
  • ความต้านทานตอแรงดึงทิ่ผิว (Pick Resistance)ความแข็งแรงต่อเส้นใย ที่ทนต่อแรงดึงผิว โดยหมึกพิมพ์ กระดาษที่ทนน้อย จะถูกหมึกถอนเส้นใยได้ได้ ทำให้ภาพพิมพ์ลดคุณภาพ
  • ความต้านทานต่อน้ำ ความชื้น โดยเฉพาะกระดาษเคลือบผิวที่ใช้ในการพิมพ์ระบบออฟเซ็ต ความชื้นในกระดาษ ควรมีความสมดุลย์ กับบรรยากาศโดยรอบ เพื่อไม่ให้ยืดและหด เมื่อความชื้นมีการเปลี่ยนแปลง
  • ความทึบแสง (Optical) เมื่อพิมพ์ภาพ และภาพจะปรากฎอีกด้านหนึ่งมากน้อยเพียงใด ถ้ากระดาษทึบแสงสูงก็มองไม่เห็นอีกด้านนึง
  • ความเรียบของผิวกระดาษ (Smoothness)มีผลต่อรายละเอียดภาพในการพิมพ์ภาพสกรีน
  • การกระจายตัวของเส้นใย เส้นใยที่ดีควรมีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งช่วยให้ดูดซึมหมึกดี และมีผลต่องความแข็งแรง ความต้านทานต่อแรงดึงด้วย

น้ำหนักกระดาษ

  • เรียกเป็นกรัม หรือเป็นแกรมโดยถือเอาน้ำหนักของกระดาษต่อ 1 ตารางเมตร 1 แผ่น เป็นตัวกำหนดเช่น กระดาษ 60 แกรม หมายถึง กระดาษ 1 แผ่น กว้าง 1 เมตร หรือ 60 แกรม
  • เรียกเป็นกิโลกรัมใช้เรียกในเมืองไทย โดยยึดขนาดมาตรฐาน 31x43 นิ้ว จำนวน 1 รีม (1 รีม เท่ากับ 500 แผ่น) น้ำหนักเท่าไหร่ก็เรียกกระดาษนั้นเป็นกิโลกรัม เช่นกระดาษฟอกขาวขนาด 31x43 นิ้ว จำนวน 1 รีม หนัก 37 กิโลกรัม
  • เรียกเป็นปอนด์ ใช้ในยุโรป และอเมริกาโดยยึดมาตรฐานกระดาษ 1 รีม

ความหนาของกระดาษ

การวัดความหนาของกระดาษทำ ได้ยาก เพราะกระดาษแต่ละแผ่นบางมาก ดังนั้นจึงใช้วิธีการชั่งนํ้าหนักของกระดาษแทน โดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ว่า กระดาษหนาย่อมมีนํ้าหนักมากกว่ากระดาษบาง โดยพิจารณาจากน้ำหนักของกระดาษขนาด 1 ตารางเมตร ในหน่วยวัดเป็น แกรม (gsm) กระดาษชนิดเดียวกัน 120 แกรมจึงหนากว่ากระดาษ 80 แกรม การเลือกความหนาของกระดาษต้องพิจารณาตามงานที่เอาไปใช้ เช่น ทำปกต้องใช้กระดาษหนา แต่ถ้าเป็นใบเสร็จมีหลายชั้นเมื่อเขียนแล้วต้องการให้ทะลุถึงชั้นล่าง กระดาษก็ต้องบาง ตัวอย่างที่นิยมใช้ ได้แก่
  • ใบเสร็จหรือสิ่งพิมพ์ที่มีสำเนา : นิยมใช้กระดาษประมาณ 40-50 แกรม
  • กระดาษหัวจดหมาย หน้าเนื้อในของหนังสือ นิตยสาร เนื้อในของสมุด : นิยม ใช้กระดาษประมาณ 70-80 แกรม
  • โบรชัวร์สี่สี หน้าสี่สีของนิตยสาร โปสเตอร์ : นิยมใช้กระดาษประมาณ 120 – 160 แกรม
  • ปกหนังสือ นิตยสาร สมุด แฟ้มนำเสนองาน กล่องสินค้า : นิยมใช้กระดาษประมาณ 300 แกรมขึ้นไป

ขนาดกระดาษ

การออกแบบงานโดยไม่ทราบขนาด กระดาษนั้น ทำให้ต้นทุนในการพิมพ์งานนั้นสูงขึ้น เพราะว่ากระดาษจะไม่สามารถตัดให้ลงตัวได้ และเป็นเศษทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย ขนาดของกระดาษในที่นี้หมายถึง กระดาษแผ่นใหญ่ ที่ตัดมาจากม้วนแล้วซึ่งมีขนาดต่างๆ ดังนี้
  • กระดาษปอนด์, อาร์ตมัน, อาร์ตด้าน, ปรู๊ฟ โดยทั่วไปมีอยู่ 3 ขนาด คือ 24 นิ้ว x 35 นิ้ว / 25 นิ้ว x 36 นิ้ว / 31 นิ้ว x 43 นิ้ว
  • กระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า, อาร์ตการ์ด 1 หน้า โดยทั่วไปมีอยู่ 2 ขนาด คือ 25 นิ้ว x 36 นิ้ว / 31 นิ้ว x 43 นิ้ว
  • กระดาษกล่องแป้ง (หลังขาว, หลังเทา) โดยทั่วไปมีอยู่ 2 ขนาด คือ 31 นิ้ว x 43 นิ้ว / 35 นิ้ว x 43 นิ้ว
  • กระดาษเคมี (ก็อปปี้ในตัว) ที่นิยมมีอยู่ 1 ขนาด คือ 24 X 36 นิ้ว
  • กระดาษแบงค์สี โดยทั่วไปมีอยู่ขนาดเดียว คือ 31 นิ้ว x 43 นิ้ว

ราคากระดาษ

ราคาของกระดาษจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของกระดาษ เพราะฉะนั้นการเลือกกระดาษต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของสิ่งพิมพ์ และระบบพิมพ์