Close
ค้นหา
Filters

ไสกาว

LINE ID : @ideolprint

Call for pricing

Perfect Binding (ไสกาว)

การเข้าเล่มแบบไสกาว (ไสสันทากาว)

      เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะเข้าเล่มได้เรียบร้อยสวยงามและราคาถูก เหมาะสำหรับหนังสือเล่มที่มีความหนาปานกลางประมาณ 70 หน้าขึ้นไป วิธีเข้าเล่มแบบไสกาวจะนำกระดาษที่เรียงหน้าเป็นเล่มแล้ว มาเข้าเครื่องไสด้านข้างให้เป็นขุยก่อนแล้วจึงทากาวที่ขอบสันที่ผ่านการไสด้วยการเลื่อยแล้ว จากนั้นจึงปิดสันด้วยผ้าก๊อชเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้สัน แล้วจึงหุ้มด้วยปกหนังสือ การที่ต้องไสขอบสันก่อนก็เพื่อให้กาวแทรกซึมเข้าไปง่าย การยึดติดก็จะดีขึ้น นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า “ไสกาว” การเข้าเล่มแบบนี้เป็นวิธีที่ทำได้เร็วและมีราคาไม่แพง ความทนทานก็พอใช้ได้ แต่กางหนังสือออกได้ไม่มาก โดยเฉพาะหนังสือที่หนามาก ๆ ถ้ากางหนังสือเต็มที่อาจจะหลุดได้ 

การเข้าเล่มแบบสันกาว (เหมือนหนังสือ)

      เป็นการเข้าเล่มที่มีลักษณะคล้ายกับการเข้าเล่มแบบไสสันทากาว เพียงแต่เป็นวิธีการใส่กาวเท่านั้น ไม่มีการไสด้วยเครื่องจักร โดยส่วนใหญ่ตามร้านถ่ายเอกสารมักจะเข้าเล่มด้วยวิธีนี้ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องไสกาวราคาแพง แต่เป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือในการทำ และจะออกมาสวยงามได้ คนทำต้องค่อนข้างมีฝีมือ ซึ่งข้อดีของการเข้าเล่มแบบสันกาว คือ สามารถจัดเก็บบนชั้นหนังสือง่าย สวยงาม คงทนกว่าไสกาว เพราะมีการเย็บลวดเสร็มที่สัน จึงไม่ต้องกังวลว่าเนื้อหาจะหลุดง่าย แต่เนื่องด้วยการเข้าเล่มแบบนี้จะมีการเย็บที่สัน อาจทำให้ตัวหนังสือที่อยู่ใกล้สัน อ่านยากมากขึ้น และ การเข้าเล่มด้วยวิธีนี้ เป็นงานฝีมือมีหลายขั้นตอนกว่า จึงทำให้ราคาก็สูงตามไปด้วย ถ้าเล่มยิ่งหนา ราคาก็จะยิ่งสูง ซึ่งบางร้านไม่สามารถเข้าเล่มที่หนาเกิน 200 หน้าได้ เพราะไม่มีอุปกรณ์เครื่องจักร และคุณภาพงานที่ได้อาจไม่นิ่งเหมือนการเข้าเล่มด้วยเครื่องไสกาว

การเข้าเล่มแบบไสกาวร้อน

       เป็นการเข้าเล่มที่มีลักษณะเหมือนกับการเข้าเล่มแบบไสสันทากาว แต่งานที่ได้จะออกมาสวยงามและคงทนกว่า เพราะการเข้าเล่มแบบไสกาวร้อน จะใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วยในการเข่าเล่ม นั้นคือ เครื่องเข้าเล่มไสกาวร้อน ซึ่งมีทั้งระบบอัตโนมัติไปจนถึงระบบใช้มือโยก (Manual) ซึ่งข้อดีของการใช่เครื่องเข้าเล่มไสกาวร้อนนั้น คือ การเข้าเล่มนั้นแข็งแรงและทนกว่าแบบทากาว เนื่องจากใช้ความร้อนในการละลายกาว แล้วใช้แรงกดทับของเครื่องในการพับสันปก อีกทั้งงานที่ออกมาก็มีความเรียบร้อยมากกว่า เข้าเล่มได้หนากว่า บางเครื่องได้หนาถึง 500 แผ่น หรือประมาณ 6 เซนติเมตร และทำงานได้รวดเร็วกว่า

ตัวอย่าง สิ่งพิมพ์ที่นิยมเข้าเล่มรูปแบบนี้

- หนังสือวิชาการ        - หนังสือแผนธุรกิจ        - หนังสือโครงการ        - หนังสือรุ่น
- เข้าเล่มไดอารี        - เข้าเล่มแม็กกาซีน        - เข้าเล่มเมนูอาหาร        - เอกสารสัมมนา
- เข้าเล่่มปฎิทินตั้งโต๊ะ        - แค็ตตาล็อกสินค้า        - ครูชำนาญการ        - ครูวิทยะฐานะ
 IDEOL Digital Print  เป็นโรงพิมพ์คุณภาพ มีความเชี่ยวชาญด้านงานพิมพ์ที่บริการพิมพ์งานทุกชนิดทุกประเภทแบบครบวงจร  โดยทางเรามีผู้เชี่ยวชาญที่จบการศึกษาด้านงานพิมพ์โดยตรงมาคอยให้คำแนะนำหรือให้คำปรึกษาแก่คุณลูกค้าและผู้ที่สนใจ  รวมทั้งบริการงานที่มีคุณภาพ ราคาย่อมเยาว์ รวดเร็ว เป็นกันเอง

Perfect Binding (ไสกาว)

การเข้าเล่มแบบไสกาว (ไสสันทากาว)

      เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะเข้าเล่มได้เรียบร้อยสวยงามและราคาถูก เหมาะสำหรับหนังสือเล่มที่มีความหนาปานกลางประมาณ 70 หน้าขึ้นไป วิธีเข้าเล่มแบบไสกาวจะนำกระดาษที่เรียงหน้าเป็นเล่มแล้ว มาเข้าเครื่องไสด้านข้างให้เป็นขุยก่อนแล้วจึงทากาวที่ขอบสันที่ผ่านการไสด้วยการเลื่อยแล้ว จากนั้นจึงปิดสันด้วยผ้าก๊อชเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้สัน แล้วจึงหุ้มด้วยปกหนังสือ การที่ต้องไสขอบสันก่อนก็เพื่อให้กาวแทรกซึมเข้าไปง่าย การยึดติดก็จะดีขึ้น นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า “ไสกาว” การเข้าเล่มแบบนี้เป็นวิธีที่ทำได้เร็วและมีราคาไม่แพง ความทนทานก็พอใช้ได้ แต่กางหนังสือออกได้ไม่มาก โดยเฉพาะหนังสือที่หนามาก ๆ ถ้ากางหนังสือเต็มที่อาจจะหลุดได้ 

การเข้าเล่มแบบสันกาว (เหมือนหนังสือ)

      เป็นการเข้าเล่มที่มีลักษณะคล้ายกับการเข้าเล่มแบบไสสันทากาว เพียงแต่เป็นวิธีการใส่กาวเท่านั้น ไม่มีการไสด้วยเครื่องจักร โดยส่วนใหญ่ตามร้านถ่ายเอกสารมักจะเข้าเล่มด้วยวิธีนี้ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องไสกาวราคาแพง แต่เป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือในการทำ และจะออกมาสวยงามได้ คนทำต้องค่อนข้างมีฝีมือ ซึ่งข้อดีของการเข้าเล่มแบบสันกาว คือ สามารถจัดเก็บบนชั้นหนังสือง่าย สวยงาม คงทนกว่าไสกาว เพราะมีการเย็บลวดเสร็มที่สัน จึงไม่ต้องกังวลว่าเนื้อหาจะหลุดง่าย แต่เนื่องด้วยการเข้าเล่มแบบนี้จะมีการเย็บที่สัน อาจทำให้ตัวหนังสือที่อยู่ใกล้สัน อ่านยากมากขึ้น และ การเข้าเล่มด้วยวิธีนี้ เป็นงานฝีมือมีหลายขั้นตอนกว่า จึงทำให้ราคาก็สูงตามไปด้วย ถ้าเล่มยิ่งหนา ราคาก็จะยิ่งสูง ซึ่งบางร้านไม่สามารถเข้าเล่มที่หนาเกิน 200 หน้าได้ เพราะไม่มีอุปกรณ์เครื่องจักร และคุณภาพงานที่ได้อาจไม่นิ่งเหมือนการเข้าเล่มด้วยเครื่องไสกาว

การเข้าเล่มแบบไสกาวร้อน

       เป็นการเข้าเล่มที่มีลักษณะเหมือนกับการเข้าเล่มแบบไสสันทากาว แต่งานที่ได้จะออกมาสวยงามและคงทนกว่า เพราะการเข้าเล่มแบบไสกาวร้อน จะใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วยในการเข่าเล่ม นั้นคือ เครื่องเข้าเล่มไสกาวร้อน ซึ่งมีทั้งระบบอัตโนมัติไปจนถึงระบบใช้มือโยก (Manual) ซึ่งข้อดีของการใช่เครื่องเข้าเล่มไสกาวร้อนนั้น คือ การเข้าเล่มนั้นแข็งแรงและทนกว่าแบบทากาว เนื่องจากใช้ความร้อนในการละลายกาว แล้วใช้แรงกดทับของเครื่องในการพับสันปก อีกทั้งงานที่ออกมาก็มีความเรียบร้อยมากกว่า เข้าเล่มได้หนากว่า บางเครื่องได้หนาถึง 500 แผ่น หรือประมาณ 6 เซนติเมตร และทำงานได้รวดเร็วกว่า

ตัวอย่าง สิ่งพิมพ์ที่นิยมเข้าเล่มรูปแบบนี้

- หนังสือวิชาการ        - หนังสือแผนธุรกิจ        - หนังสือโครงการ        - หนังสือรุ่น
- เข้าเล่มไดอารี        - เข้าเล่มแม็กกาซีน        - เข้าเล่มเมนูอาหาร        - เอกสารสัมมนา
- เข้าเล่่มปฎิทินตั้งโต๊ะ        - แค็ตตาล็อกสินค้า        - ครูชำนาญการ        - ครูวิทยะฐานะ
 IDEOL Digital Print  เป็นโรงพิมพ์คุณภาพ มีความเชี่ยวชาญด้านงานพิมพ์ที่บริการพิมพ์งานทุกชนิดทุกประเภทแบบครบวงจร  โดยทางเรามีผู้เชี่ยวชาญที่จบการศึกษาด้านงานพิมพ์โดยตรงมาคอยให้คำแนะนำหรือให้คำปรึกษาแก่คุณลูกค้าและผู้ที่สนใจ  รวมทั้งบริการงานที่มีคุณภาพ ราคาย่อมเยาว์ รวดเร็ว เป็นกันเอง