Close
ค้นหา
Filters

Information of material

ระบบงานพิมพ์

ระบบงานพิมพ์ ดิจิตอล (Digital)
เป็นระบบการพิมพ์ที่รวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย สามารถแก้ไขไฟล์งานก่อนพิมพ์จริงได้ซึ่งคุณภาพงานพิมพ์จะใกล้เคียงกับงานพิมพ์ระบบออฟเซ็ท แต่อาจจะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับสีพื้นบ้างเล็กน้อย เช่น งานที่เป็นพื้นสีเดียวกัน สีพื้นของเนื้องาน จะไม่เรียบเนียน จะเห็นเป็นริ้วหรือขั้น ๆ บ้าง โดยระบบพิมพ์ประเภทนี้ เหมาะกับงานที่ต้องแก้ไขหลายครั้ง เนื่องจากไม่ต้องผ่านขั้นตอนการยิงฟิล์มและออกเพลท(แม่พิมพ์) เพียงนำไฟล์งานมาประกอบบนคอมพิวเตอร์กราฟฟิค และจัดส่งไฟล์เข้าสู่ตัวเครื่องพิมพ์จนออกมาเป็นงานพิมพ์
ระบบงานพิมพ์ ออฟเซ็ท (Offset)
เป็นระบบการพิมพ์ที่ได้รับความนิยมในเรื่องของคุณภาพงาน ความละเอียด ให้เม็ดสีที่คมชัด สีสัน สวยงาม และสามารถพิมพ์งานสีพิเศษได้ โดยระบบพิมพ์ประเภทนี้จะมีขั้นตอนการผลิตหลายขั้นตอนเช่น การยิงฟิล์ม การทำเพลท (แม่พิมพ์) การปรุ๊ฟ และการพิมพ์งาน ทำให้ไม่เหมาะกับงานที่ต้องแก้ไขหลายครั้ง เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในขั้นตอนใหม่ เช่น การทำฟิลม์ การทำเพลน เป็นต้น
ระบบงานพิมพ์ อิงเจ็ท (Inkjet)
เป็นระบบการพิมพ์ที่ใกล้เคียงกับงานพิมพ์ดิจิตอล แต่ใช้ความร้อนในการทำให้หมึกเกิดแรงดันและพ่นสีออกมา สามารถพิมพ์งานได้ขนาดที่ใหญ่กว่าตามขนาดเครื่องพิมพ์ แต่มีข้อจำกัดในเรื่องคุณภาพงาน คุณภาพสีที่ไม่คงที่ และจำกัดในเรื่องความหนาของแกรมกระดาษแต่ปัจจุบันมีเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทบางรุ่นสามารถพิมพ์ภาพคุณภาพสูงได้ แต่ต้องใช้กระดาษและหมึกเฉพาะซึ่งต้นทุนต่อหน่วยสูง

ขนาดงานพิมพ์

ขนาดมาตรฐานของกระดาษ ตามมาตรฐานในระบบ ISO เป็นระบบเมตริก โดยกำหนดให้รหัส
    • A0 มีขนาดเท่ากับ 841 X 1189 มิลลิเมตร และทำการแบ่งครึ่งไปเรื่อยๆ จะได้เป็นขนาดรหัสใหม่ คือ A1 , A2 , A3 , A4 , … ฯลฯ
    • B0 มีขนาดเท่ากับ 1000 x 1414 มิลลิเมตร และทำการแบ่งครึ่งไปเรื่อยๆ จะได้เป็นขนาดรหัสใหม่ คือ B1 , B2 , B3 , B4 , …ฯลฯ
    • C0 มีขนาดเท่ากับ 917 x 1297 มิลลิเมตร และทำการแบ่งครึ่งไปเรื่อยๆ จะได้เป็นขนาดรหัสใหม่ คือ C1 , C2 , C3 , C4 , …ฯลฯ
*** ขนาดที่นิยมคือ A4 (210 X 297 มิลลิเมตร) ซึ่งเป็นขนาดของกระดาษถ่ายเอกสารที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

เทคนิคหลังการพิมพ์

การไสกาว
เป็นการ เข้าเล่มงานพิมพ์ที่นิยมมากที่สุด เพราะเข้าเล่มได้เรียบร้อยสวยงาม เหมาะสำหรับงานปริ้นท์หรืองานพิมพ์ ที่มีความหนาประมาณ 70 หน้าขึ้นไป
การเข้าห่วง / กระดูกงู
นิยมใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ไม่หนาเกินไปและทำจำนวนน้อย เช่น ปฏิทิน ไดอารี่ สมุดบันทึก โดยสามารถเลือกสีของห่วงและขนาดของห่วงให้มีความเหมาะสม
การเย็บมุงหลังคา
เป็นการเข้าเล่มงานพิมพ์แบบแมค เหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่ีไม่หนาเกินไป แล้วแต่ความหนาของกระดาษและจำนวนหน้า
ปั้มนูน
การทำให้บางส่วนของงานพิมพ์มีลักษณะนูนขึ้นจากผิวเป็นรูปร่างตามแบบปั๊ม เช่น การปั๊มนูนตัวอักษร สัญลักษณ์ เพื่อเน้นบริเวณนั้นๆให้สวยขึ้น
ปั้มจม
การทำให้บางส่วนของงานพิมพ์มีลักษณะจมลงจากผิวเป็นรูปร่างตามแบบปั๊ม เช่น การปั๊มนูนตัวอักษร สัญลักษณ์ เพื่อเน้นบริเวณนั้นๆให้สวยขึ้น
ปรุฉีก
การทำเส้นปรุกึ่งขาดบนงานพิมพ์ที่ต้องการฉีกไปใช้งาน เช่น บัตรคูปอง
เคลือบลามิเนต
การเคลือบลามิเนตมันและลามิเนตด้าน เพื่อป้องกันการฉีกขาดของงานพิมพ์ และเพิ่มความทนทานในการใช้งาน
ปั้มไดคัท
การใช้แม่พิมพ์ที่ฝังใบมีดกดทับลงบนกระดาษเพื่อตัดชิ้นงานพิมพ์ให้ได้ขนาดและรูปร่างตามความต้องการ
เคลือบสปอตยูวี
การเคลือบเงาบางส่วนของชิ้นงานพิมพ์ในบริเวณที่ต้องการ เพื่อเพิ่มความสวยงามและความโดดเด่นของรูปภาพ ตัวอักษร หรือข้อความ